วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

1.อธิบายวิธีการและความแตกต่างของ ความรู้ ภูมิปัญญา และวิสัยทัศน์

ความรู้ (Knowledge) หมายถึง พฤติกรรมขั้นต้นที่ผู้เรียนรู้เพียงแต่เกิดความจำได้ โดยอาจจะเป็นการนึกได้หรือโดยการมองเห็น ได้ยิน จำได้ ความรู้ในชั้นนี้ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับคำจำกัดความ ความหมาย ข้อเท็จจริง กฎเกณฑ์ โครงสร้างและวิธีแก้ไขปัญหา ส่วนความเข้าใจอาจแสดงออกมาในรูปของทักษะด้าน “การแปล” ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการเขียนบรรยายเกี่ยวกับข่าวสารนั้น ๆ โดยใช้คำพูดของตนเอง และ “การให้ความหมาย” ที่แสดงออกมาในรูปของความคิดเห็นและข้อสรุป รวมถึงความสามารถในการ “คาดคะเน” หรือการคาดหมายว่าจะเกิดอะไรขึ้น

ภูมิปัญญา (Wisdom) หมายถึง แบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าแสดงถึงความเฉลียวฉลาดของบุคคลและสังคม ซึ่งได้สั่งสมและปฏิบัติสืบต่อกันมา ภูมิปัญญาจะเป็นทรัพยากรบุคคลหรือทรัพยากรความรู้ได้จากประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ ในการศึกษาเล่าเรียน การที่ชาวนารู้จักวิธีทำนา การไถนา การเอาควายมาใช้ในการไถ่นา การรู้จักนวดข้าวโดยใช้ควาย รู้จักสานกระบุง ตระกร้า เอาไม้ไผ่มาทำเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวัน เรียกว่าภูมิปัญญาทั้งสิ้น ซึ่งเป็นผลึกขององค์ความรู้ที่มีกระบวนการสั่งสม สืบทอด กลั่นกรอง กับมายาวนาน มีที่มาหลากหลายแต่ได้ประสบประสานกันจนเป็นเหลี่ยมกรณีที่จรัสแสงคงทนและ ท้าทายตลอดกาลเวลา ความรู้อาจจะไม่ได้เป็นเอกภาพ แต่ภูมิปัญญาจัดว่าเป็นเอกลักษณ์

วิสัยทัศน์ (Vision) หมายถึง ภาพอนาคตสำหรับองค์กรที่สามารถเป็นไปได้จริง น่าเชื่อถือ ดึงดูดใจ วิสัยทัศน์มักเกี่ยวกับอนาคตเสมอ วิสัยทัศน์คือจุดเริ่มต้นของวันพรุ่งนี้เพราะวิสัยทัศน์เปิดเผยถึงสิ่งที่ เรารู้และผู้ร่วมวิสัยทัศน์ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อสร้างขึ้นมา เป็นเพียงแนวความคิดหรือภาพลักษณ์ของอนาคตที่น่าพึงปรารถนา มากกว่าสำหรับองค์กร แต่วิสัยทัศน์ที่ถูกต้องคือความคิดที่ทรงพลังเป็นการเริ่มต้นสู่อนาคตแบบ ก้าวกระโดด ผ่านการใช้ทักษะ ความสามารถ ศักยภาพและทรัพยากรทั้งหมดที่มีอยู่เพื่อให้วิสัยทัศน์นั้นเป็นจริงได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น